วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เล่นอินเตอร์เน็ต อย่างปลอดภัย



ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์


- ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกโซเบอร์ Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ 1) ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อคมัน 2) ถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (Backup)

- ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์

1) บัตรเครดิตและการแอบอ้าง

         - ให้หมายเลยบัตรเครดิตเฉพาะบริษัทที่ท่านไว้วางได้เท่านั้น

        - ใช้เฉพาะเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น https://

        - ใช้รหัสผ่านอย่างน้อย 10 ตัวอักขระ (ควรผสมกันระหว่างตัวอักษรและตัวเลข)

        - ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละระบบหรือเว็บไซต์


2) การปัองกันข้อมูลส่วนบุคคล พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการให้ข้อมูลส่วนตัว

3) การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ ใช้โปรแกรม เช่น SurfSecret เพื่อป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ โปรแกรมจะทำงานคล้ายกับโปรแกรมป้องกันไวรัส และลบข่าวสาร/โฆษณาที่เกิดขี้นเมื่อผู้ใช้ท่างเว็บไซต์

4) การหลีกเลี่ยงสแปมเมล

5) การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ที่เป็นอาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อทำหน้าที่เป็นยามประตูตรวจสอบการเข้าระบบ


6) การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์


         - ปฏิบัติตามเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ ด้วยตัวอักษรย่อ EMAIL ดังนี้

           E ย่อมาจาก Exempt from unknown คือ ไม่เปิดอีเมลจากคนแปลกหน้า

          M ย่อมาจาก Mind the subject คือ หมั่นสังเกตหัวข้อของจดหมายก่อนที่จะเปิดอ่าน

          A ย่อมาจากประโยค Antivirus must be installed หมายความว่า ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เช่น Norton Antivirus

          I ย่อมาจาก Interest on virus news หมายความว่า ควรให้ความสนใจกับข่าวเกี่ยวกับไวรัส ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ

          L ย่อมาจาก Learn to be cautious หมายความว่า ให้ระวังให้มาก อย่าเปิดอีเมลแบบไม่ยั้งคิด
           
นอกจากข้อควรระวังแล้วยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมดังนี้

1) การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

2) การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว

3) การใช้พลังงานวิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้ว วิธีการที่ใช้ในการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะมีดังต่อไปนี้


          1. Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนหรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลใดก็ได้ที่สามารถเข้าไปถึงตัวข้อมูล ตัวอย่างเช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บันทึกเวลาการทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาลงเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหากถูกแก้ไขเพียงเล็กน้อย พนักงานแต่ละคนแทบจะไม่สงสัยเลย

         2. Trojan Horse การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดีจะปรากฎตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์หรือการทำลายข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์

        3. Salami Techniques วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่สามารถจ่ายได้ แล้วนำเศษทศนิยมหรือเศษที่ปัดทิ้งมาใส่ในบัญชีของตนเองหรือของผู้อื่นซึ่งจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุลย์ (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงินออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า

         4. Superzapping มาจากคำว่า "Superzap" เป็นโปรแกรม "Marcro utility" ที่ใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน เสมือนกุญแจผี (Master Key) ที่จะนำมาใช้เมื่อกุญแจดอกอื่นหายมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utlity Program) อย่างเช่นโปรแกรม Superzap จะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี

         5. Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการไว้ในไฟล์ลับ 

          6. Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะหรือสภาพการณ์ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือนแล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว

         7. Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างานที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น

         8. Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือบริเวณใกล้เคียง หลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งานแล้ว

         9. Data Leakage หมายถึงการทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่นการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าในขณะที่กำลังทำงาน คนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลตามที่ตนเองต้องการ

        10. Piggybacking วิธีการดังกล่าวสามารถทำได้ทั้งทางกายภาพ (physical) การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลคนนั้นได้เข้าไปแล้ว คนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังไม่ปิดสนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นกัน อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ใช้สายสื่อสารเดียวกันกับผู้ที่มีอำนาจใช้หรือได้รับอนุญาต เช่นใช้สายเคเบิลหรือโมเด็มเดียวกัน

        11. Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมยบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคารและแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีป้องกันมิให้เงินในบัญชีของเหยื่อ จึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสประจำตัว (Personal Identification Number: PIN) โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัส และได้เงินของเหยื่อไป

       12. Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก

      13. Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน การควบคุมและติดตามความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากรในการสร้างแบบจำลองในการวางแผนเพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่นในกิจการประกันภัย มีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการหรือช่วยในการตัดสินใจในการทำกรมธรรม์ประกัน ภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทประกันภัยล้มละลายเมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินเพียงการบันทึก(จำลอง)แต่ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น